‘หมอโอภาส’ แจง โควิดต่างสายพันธุ์ ติดโควิดซ้ำ ได้ หลัง ‘พิธา’ ติดโควิดซ้ำ

‘หมอโอภาส’ แจง โควิดต่างสายพันธุ์ ติดโควิดซ้ำ ได้ หลัง ‘พิธา’ ติดโควิดซ้ำ

จากกรณีที่ พิธา ออกมาเปิดเผยว่าตน ติดโควิดซ้ำ สองครั้งในรอบเดือน ล่าสุดทางกรมควบคุมโรงชี้แจงว่า โควิดต่างสายพันธุ์ สามารถทำให้ผู้ป่วยติดโควิดซ้ำได้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่ ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาเปิดเผยว่าตนติดโควิดรอบที่สองในรอบหนึ่งเดือน

โดย หมอโอภาส ระบุว่า สามารถติดเชื้อซ้ำได้กรณีต่างสายพันธุ์ 

เช่นหายจากสายพันธุ์เดลตา ก็ติดสายพันธุ์โอมิครอนซ้ำได้ ส่วนกรณีสายพันธุ์โอมิครอนเหมือนกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 กับ BA.2 ยังเป็นเรื่องใหม่ ต้องติดตามรายละเอียดข้อเท็จจริงอีกครั้ง

ซึ่งตามหลักแล้วก็มีโอกาส แต่จะ 1 ในแสนหรือ 1 ในล้าน ต้องดูข้อมูลประกอบ รวมถึงดูระยะเวลาด้วย เนื่องจากเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่ติดซ้ำในระยะเวลาสั้น ๆ ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

ขณะนี้ข้อมูลผู้ติดเชื้อซ้ำใน BA.1 และ BA.2 ระยะสั้น ๆ ยังมีน้อยมาก ดังนั้น ข้อมูลไม่มากพอที่จะบอกได้ว่ามีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือไม่อย่างไร ต้องดูจากประวัติของผู้ติดเชื้อ เพื่อเก็บข้อมูลต่อ

“เชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนต้น เชื้อก็จะออกมาจากการ ไอ จาม พูด มากกว่าเดลตาที่ลงปอดได้เยอะกว่า จึงเป็นที่มาว่าโอมิครอนแพร่ได้เร็วและระยะฟักตัวสั้น รวมถึงหลายคนไม่มีอาการ ก็จะแพร่เชื้อได้เร็ว

แต่ส่วนใหญ่อาการน้อยโดยเฉพาะคนฉีดวัคซีนแล้ว อาการก็จะเพียงระคายคอ ไม่มีไข้ แต่สำหรับคนสูงอายุก็จะรุนแรงกว่า โดยเฉพาะคนไม่ฉีดวัคซีน จึงเชิญชวนกลุ่ม 608 มารับวัคซีน” นพ.โอภาส กล่าว

เมื่อถามว่าหลายคนคิดว่าหายแล้ว จะไม่ติดเชื้อซ้ำอีกทำให้ประมาท นพ.โอภาส กล่าวว่า คนที่มีประวัติติดเชื้อ โควิด-19 แล้ว ขอให้ระมัดระวังตนเองต่อไป สวมหน้ากาก ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองสูงสุด ความเสี่ยงคือการพบปะกับคนไม่ได้สวมหน้ากาก โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร

ทั้งนี้ นโยบาย Self-clean up ด้วยการงดไปสถานที่เสี่ยงก่อนเดินทางกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ รวมถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยเฉพาะคนสูงอายุ

วิจารณ์ยับ กระบะฝ่าไฟแดงเกือบชนพยาบาลท้อง ยืนรอข้ามทางม้าลาย

คลิปกระบะฝ่าไฟแดง เกือบชน พยาบาลท้อง ข้ามทางม้าลาย เจ้าของคลิประบุเหตุการ์เกิดขึ้นตอนเช้า บริเวณหน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เฟซบุ๊ก Ginhom Nakab ได้โพสต์คลิปเมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นเหตุการณ์เตือนภัยเรื่องการข้ามทางม้าลายที่เกือบจะกลายเป็นเหตุสลดอีกครั้ง หลังจากคลิปวิดีโอความยาวเพียง 5 วินาที เผยให้เห็นถึงภาพของรถกระบะตู้ทึบตีนผีวิ่งฝ่าไฟแดง หวิดชนพยาบาลท้องขณะเดินข้ามทางม้าลาย หน้า รพ.จุฬาลงกรณ์

โดยข้อความในโพสต์ดังกล่าวของเจ้าของคลิป ยังบรรยายเพิ่มเติมว่า “‼️เตือนภัยเรื่องการข้ามทางม้าลาย‼️ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนเช้า บริเวณหน้าโรงพยาบาลย่านสวนลุม เนื่องจากไฟทางข้ามม้าลายเป็นสีแดง แต่รถไม่หยุดให้ และคนที่ข้ามเป็นคุณพยาบาลที่กำลังตั้งครรภ์ อยู่ด้วย คิดดูนะครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กับเหตุการณ์แบบนี้อีก #ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังนะครับ”

ทั้งนี้ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Rabbit Crossing ทางกระต่าย ก็ได้แชร์คลิปเตือนภัยสำหรับคนข้ามทางม้าลายนี้ไว้ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันเพจดังกล่าวก็ยังเรียกร้องให้ ทางม้าลายต้องปลอดภัย​สำหรับคนเดินเท้าด้วย

จากคลิปเหตุการณ์​ ได้มีสัญญาณ​ไฟสีแดงให้รถหยุดแล้ว แต่ยังมีรถที่ไม่หยุดตรงทางข้าม!!! ทำให้เห็นว่าการติดสัญญาณ​ไฟอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบสำหรับความปลอดภัยทั้งหมด จิตสำนึกของผู้ขับขี่ในการหยุดให้ข้าม รวมถึงการบังคับใช้​กฎหมาย​ การปรับกายภาพ​บริเวณทางม้าลายด้วยวิธีอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

นอกจากนี้ในโพสต์ถัดมาของเพจนี้ยังสรุปสั้นๆ 3 ข้อ สำหรับสิ่งที่คนเดินเท้าต้องทำเมื่อต้องการข้ามถนน คือ

1. ข้ามทางม้าลายเท่านั้นหากมีอยู่ในระยะ 100 เมตร

2. ปฏิบัติตามสัญญาณไฟคนข้าม ต้องข้ามเมื่อไฟสีเขียวเท่านั้น

3. ยืนรอข้ามในที่ปลอดภัย

สัญญาที่ 2 หนองพอก – สะพานมิตรภาพ 3 กิจการร่วมค้า ยูนิค ประกอบด้วย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท พี.ซีอีที จำกัด บริษัท ไทยพีค่อนและอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท วัชรขจร จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก – สะพานมิตรภาพ 3 วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 28,306,000,000.00 บาท (สองหมื่นแปดพันสามร้อยหกล้านบาทถ้วน)